วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นายศักดา ทุนภิมรมย์

ชื่อเรื่อง        ผลการใช้บทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้
                 การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี)
ผู้ศึกษา        นายศักดา ทุนภิรมย์
ปีที่พิมพ์       2560

บทคัดย่อ


            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80    2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) 3)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอกเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) และ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียน บนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี)2)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9506 และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และ E.I. และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติ t
(Dependent Samples t – test)
            ผลการวิจัยพบว่า
            1.   บทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.91/83.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 
            2.   นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่อง
โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            3.   ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรม
ไมโครซอฟท์เอ็กเซล2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) เท่ากับ 0.7202 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.02
            4.   นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นางสาวปาลียา กมล

ชื่อเรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
ผู้ศึกษา นางสาวปาลียา กมล
ปีที่ศึกษา 2557


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ปทุมมาศวิทยา อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 38 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 21 คน ที่เรียนเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ชุด  2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 แผน  3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1 / E2 และ E.I. และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติ t (Dependent Samples 
t – test)  ผลการวิจัยพบว่า 
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการ 
สืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.37/84.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้คือ 80/80 
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  
ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7309 แสดงว่านักเรียน
มีความรู้เพิ่มขึ้น หลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 73.09 
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์     
เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับ 
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ยุพิน สะอาดยิ่ง



ชื่อเรื่อง             การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก
                     การลบ การคูณและการหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                     โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
                     ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ผู้วิจัย              ยุพิน สะอาดยิ่ง
ปีการศึกษา        2555

บทคัดย่อ
            การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ
การคูณและการหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วน  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน
          ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
อนุบาลรัตนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจั
การเรียนรู้ จำนวน 14 แผน 2) แบบฝึกทักษะจำนวน 14 ชุด ชุดละ 3 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 42 กิจกรรม
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ขเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ชุดประกอบด้วยข้อคำถาม 15 ข้อ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า
5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้  t-test
            ผลการวิจัยพบว่า
            1.   แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 77.45/78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75  ที่ตั้งไว้
            2.   ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
                ร้อยละ 75
            3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  
            4.   ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และ
การหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นายศุภกร เข็มทอง

ชื่อเรื่อง           ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่อง การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
                   ไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                   (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา           นายศุภกร เข็มทอง
ปีที่ศึกษา         2555


บทคัดย่อ


            การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของของบทเรียนออนไลน์
(E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์
(E-learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่อง การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดบ้านน้ำคำ(สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 159) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
จำนวน 30 คน เป็นนักเรียนชาย 18 คน และนักเรียนหญิง 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)บทเรียนออนไลน์ (E-learning)
เรื่อง การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 บทเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบ
การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  E1/E2 และ E.I. และทดสอบสถิติ Dependent Sample
            ผลการศึกษา พบว่า
            1. บทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่อง การนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีประสิทธิภาพ 87.36/86.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
            2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
            3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูล โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7527 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.27

            4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ (E-learning) เรื่องการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2010 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสงเมืองแคน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ผู้วิจัย สุวรรณี สุนทรธีรกุล
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ 
     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสงเมืองแคน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนโดยใช้แบบฝึกทักษะ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสงเมืองแคนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แบบฝึกทักษะจำนวน 14 ชุด ชุดละ 3 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 42 กิจกรรม แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ชุดประกอบด้วยข้อคำถาม 15 ข้อ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test
 ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 85.41/84.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.78 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 78
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมาก

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

code หนังสือราชการ สพป.สร.2

<iframe width="500" height="340" src="http://e-filing.srn2.go.th/news_view_office.asp" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

การดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

ชื่อเรื่อง                       การดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมโรงเรียน
                                       บ้านดู่นาหนองไผ่
  อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย                           นายคำภู   โกฎหอม
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านดู่นาหนองไผ่   อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์ เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 10 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความมีสติและละเอียดรอบคอบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ความสุภาพ ความยุติธรรม ความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และความสามัคคี  และ คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนา  ดำเนินการเปรียบเทียบการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านดู่นาหนองไผ่   อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์ ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียน  นักเรียนและครู  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 89  คน  นักเรียนโรงเรียนบ้านดู่นาหนองไผ่ จำนวน 89  คน และครู จำนวน  17 คน  รวม 195  คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ( Rating scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท ( Likert) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน  โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ( Alpha Coefficient )  ตามวิธีของ ครอนบาค( Cronbach)ได้ค่าความเชื่อมั่นแบบทั้งฉบับ  เท่ากับ .94  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติหาคุณภาพของแบบประเมิน  สถิติพื้นฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน